ยุคเจริญรุ่งเรืองของโขน


ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้เจ้านายชั้นสูง ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เสนาอำมาตย์และผู้ว่าราชการเมือง เข้ารับการฝึกหัดโขนเพื่อเป็นการประดับเกียรติยศแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล และทรงโปรดให้หัดไว้เฉพาะแต่เพียงผู้ชายตามประเพณีดั้งเดิม ทำให้ผู้ที่ฝึกหัดโขน มีความคล่องแคล่วว่องไว สามารถใช้อาวุธต่าง ๆ ในการต่อสู้ได้อย่างชำนาญ รวมทั้งทรงโปรดให้มีการแต่งบทละครสำหรับแสดงโขนขึ้นอีกด้วย ทำให้เจ้านายชั้นสูง ขุนนางชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากต่างหัดโขนไว้ในคณะของตนเองหลากหลายคณะเช่น โขนของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และโขนของกรมพิทักษ์เทเวศร์ เป็นต้น และมีการประกวดแข่งขันประชันฝีมือ รวมทั้งได้มีการฝึกหัดโขนให้พวกลูกทาสและลูกหมู่ซึ่งเป็นผู้ที่สังกัดกรมกองต่าง ๆ ตามวิธีควบคุมทหารแบบโบราณอีกด้วย ทำให้โขนในสมัยนั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ครั้งเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร ประทับ ณ พระราชวังสราญรมย์ ได้ทรงโปรดให้มีการฝึกหัดโขนขึ้นตามแบบโบราณ โดยมีชื่อคณะว่า "โขนสมัครเล่นทรงโปรดให้ยืมครูผู้ฝึกสอนจากเจ้าพระยาเทเวศ์วิวัฒน์ จำนวน 3 คน ได้แก่
  1. ขุนระบำภาษา (ทองใบ สุวรรณภารตต่อมาภายหลังได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์โดยลำดับจนถึงพระยาพรหมาภิบาล ทำหน้าที่เป็นครูยักษ์ ผู้ฝึกหัดสอนโขนในตัวยักษ์
  2. ขุนนัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารตต่อมาภายหลังได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์โดยลำดับจนเป็นพระยาในราชทินนาม ทำหน้าที่เป็นครูพระและครูนาง ผู้ฝึกหัดสอนโขนในตัวพระและตัวนาง
  3. ขุนพำนักนัจนิกร (เพิ่ม สุครีวกะต่อมาภายหลังได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระดึกดำบรรพ์ประจง ทำหน้าที่เป็นครูลิง ผู้ฝึกหัดสอนโขนในตัวลิง
สำหรับผู้ที่เข้ารับการฝึกหัดโขนนั้น ล้วนเป็นผู้ที่ถวายงานรับใช้ใกล้ชิดพระองค์มาโดยตลอดเช่น ลูกขุนนาง เจ้านายและมหาดเล็ก เป็นต้น โดยทรงฝึกหัดโขนด้วยความเอาพระทัยใส่เป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งให้การสนับสนุนในการแสดงโขนมาโดยตลอด เคยนำออกแสดงในงานสำคัญสำคัญหลายครั้งเช่น งานเปิดโรงเรียนนายร้อย (ทหารบก) ชั้นมัธยม เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม .. 128 (.. 2542) ดังความในสูจิบัตรที่แจกจ่ายในงาน ความว่าโขนโรงนี้ เรียกนามว่า โขนสมัครเล่น เพราะผู้เล่นเล่นโดยความสมัครเอง ไม่ใช่ถูกกะเกณฑ์หรือเห็นแก่สินจ้าง มีความประสงค์แต่จะให้ผู้ที่คุ้นเคยชอบพอกันและที่เป็นคนชั้นเดียวกัน มีความรื่นเริงและเพื่อจะได้ไม่ลืมว่า ศิลปะวิทยาการเล่นเต้นรำ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นของฝรั่งจึงจะดูได้ ของโบราณของไทยเรามีอยู่ ไม่ควรจะให้เสื่อมสูญไปเสีย โขนโรงนี้ได้เคยเล่นแต่ที่พระราชวังสราญรมย์เป็นพื้น แต่ครั้งนี้เห็นว่าผู้ที่เป็นนักเรียนนายร้อย ก็เป็นคนชั้นเดียวกัน และเป็นที่หวังอยู่ว่าจะเป็นกำลังของชาติเราต่อไป พวกโขนจึงมีความเต็มใจมาช่วยงาน เพื่อให้เป็นการครึกครื้น ถ้าแม้ว่าผู้ที่ดูรู้สึกว่าสนุกและแลเห็นอยู่ว่า การเล่นอย่างไทยแท้ก็ยังเป็นสิ่งที่ควรดูอยู่แล้ว ผู้ที่ออกน้ำพักน้ำแรงเล่นให้ดูก็จะรู้สึกว่าได้รับความพอใจยิ่งกว่าได้สินจ้างอย่างใด ๆ ทั้งสิ้น

อ่านเพิ่มเติม..